ประวัติส่วนตัว

นางสาววิภาวรรณ พฤกษชาติ 52010516040

เกิด 21 ตุลาคม 2533 ชื่อเล่น จุ๊บแจง 2ETC

จบจากโรงเรียนปากคาดพิทยาคม อ.ปากคาด จ.หนองคาย

ศึกษาต่อที่ มหาวิทยายมหาสารคาม คณะศึกษาศาสตร์

สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

ความฝันอันสูงสุด ผู้อำนวยการโรงเรียน

คติ ลายมือกำหนดชะตาชีวิต

แต่ถ้าเรากำมือลายมือก็จะอยู่ในมือของเรา



รวมภาพเพื่อนกะพี่ ETC

jubjang เที่ยว อิอิ

เว็บเข้าไปศึกษาโปรแกรม Authorware

http://mmd.rmutp.ac.th/?sort=top
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนคืออะไร
การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องช่วย (Computer Assisted Instruction : CAI)
หมายถึง บทเรียนและกิจกรรมการเรียนการสอนที่ถูกจัดกระทำไว้อย่างเป็นระบบและมีแบบแผน
โดยใช้คอมพิวเตอร์นำเสนอและจัดการเพื่อให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับบทเรียนนั้นๆ ตามความสามารถ

ประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1.บทเรียน (Tutorial) เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นมาในลักษณะของบทเรียนโปรแกรมที่เสนอเนื้อหาความรู้เป็นส่วนย่อย ๆเลียนแบบการสอนของครู
2.ฝึกทักษะและปฏิบัติ (Drill and Practice)ส่วนใหญ่ใช้เสริมการสอน ลักษณะที่นิยมกันมากคือ การจับคู่ ถูก-ผิดเลือกข้อถูกจากตัวเลือก
3.จำลองแบบ (Simulation)นิยมใช้กับบทเรียนที่ไม่สามารถทำให้เห็นจริงได้
4.เกมทางการศึกษา (Educational Game)
5.การสาธิต (Demonstration) นิยมใช้ในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
6.การทดสอบ (Testing) เป็นการวัดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
7.การไต่ถาม (Inquiry) ใช้เพื่อการค้นหาข้อเท็จจริง ความคิดรวบยอด
8.การแก้ปัญหา (Problem Solving) เน้นการให้ฝึกการคิดการตัดสินใจ
9.แบบรวมวิธีต่าง ๆ เข้าด้วย (Combination) ประยุกต์เอาวิธีสอนหลายแบบมารวมกันตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

ลักษณะการใช้งาน
•ใช้เพื่อสอนแทนผู้สอนทั้งในและนอกชั้นเรียน
•ใช้เพื่อการศึกษาทางไกลผ่านสื่อโทรคมนาคม •ใช้กับเนื้อหาที่ยุ่งยากหรือซับซ้อน
•ใช้ในการอบรมพนักงานใหม่
•ใช้เพื่อคงมาตรฐานของหลักสูตรการเรียนการสอน การฝึกอบรมให้เหมือนกันในทุกแห่ง
•ใช้เพื่อแบ่งเบาภาระของผู้สอนลง แก้ปัญหาการขาดแคลนผู้สอน

องค์ประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
•เสนอสิ่งเร้าให้กับผู้เรียน ได้แก่ เนื้อหา ภาพนิ่ง คำถาม ภาพเคลื่อนไหว
•ประเมินการตอบสนองของผู้เรียน ได้แก่ การตัดสินคำตอบ
•ให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการเสริมแรง ได้แก่ การให้รางวัล หรือ คะแนน
•ให้ผู้เรียนเลือกสิ่งเร้าในลำดับต่อไป

รูปแบบต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
•เพื่อการสอน (Tutorial Instruction)
•ประเภทการฝึกหัด (Drill and Practive)
•ประเภทสถานการณ์จำลอง (Simulation)
•ประเภทเกมการสอน (Instruction Games)
•ประเภทการค้นพบ (Discovery)
•ประเภทการแก้ปัญหา (Problem-Solving)
•ประเภทเพื่อการทดสอบ (Test)

หลักการออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
แนวความคิดของกาเย่ เพื่อให้ได้บทเรียนที่เกิดจากการออกแบบในลักษณะการเรียนการสอนจริง โดยยึดหลักการนำเสนอเนื้อหาและจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หลักการสอนทั้ง 9 ประการได้แก่
1.เร่งเร้าความสนใจ
2.บอกวัตถุประสงค์
3.ทบทวนความรู้เดิม
4.นำเสนอเนื้อหาใหม่
5.ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้
6.กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน
7.ให้ข้อมูลย้อนกลับ
8.ทดสอบความรู้ใหม่
9.สรุปและนำไปใช้

คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีลักษณะการเรียนที่เป็นขั้นเป็นตอน ดังนี้
1.ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
2.ขั้นการเสนอเนื้อหา
3.ขั้นคำถามและคำตอบ
4.ขั้นการตรวจคำตอบ
5.ขั้นของการปิดบทเรียน

ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1.ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามเอกัตภาพ
2.ผู้เรียนมีโอกาสเรียนซ้ำได้หลายครั้งเท่าที่ต้องการ
3.ผู้เรียนมีโอกาสโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์และสามารถควบคุมการเรียนได้เอง
4.มีภาพ ภาพเคลื่อนไหว สี เสียง ทำให้ผู้เรียนไม่เบื่อหน่ายการเรียน
5.ตัวผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้
6.ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามขั้นตอนจากง่ายไปยาก หรือเลือกบทเรียนได้7.ฝึกให้ผู้เรียนคิดอย่างมีเหตุผล

แหล่งอ้างอิง http://senarak.tripod.com/cai2.htm

โปรแกรม Photoinstrument แค่ไม่กี่คลิกภาพก็สวยได้

ขนาดภาพและมุมกล้อง ง่ายมากต่อการจำ อิอิ

ขนาดภาพจัดว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากอย่างหนึ่งในการถ่ายภาพยนตร์ เพราะภาพสามารถถ่ายทอดความรู้สึกของนักแสดง บอกเล่าเรื่องราวต่างๆให้กับผู้ชมได้เข้าใจถึงเนื้อหาของภาพยนตร์ ขนาดภาพจึงเป็นตัวกำหนดสิ่งที่ต้องการนำเสนอ ว่าต้องการให้ผู้ชมเห็นรือไม่เห็นสิ่งใดในฉากองค์ประกอบต่างๆเหล่านี้เกิดขึ้นจากผู้สร้างภาพยนตร์ ที่จะเลือกตั้งกล้องในมุมใด ระยะห่างจากสิ่งที่ถ่ายเท่าใด และใช้ภาพขนาดใดเป็นตัวบอกเล่าเรื่อง ขนาดภาพจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมากที่จะต้องเรียนรู้พอๆกับเรื่องอื่น ในการสร้างภาพยนตร์



ภาพไกลมาก (Extreme Long Shot หรือ ELS)

ขนาดภาพลักษณะนี้กล้องจะตั้งอยู่ไกลจากสิ่งที่ถ่ายมาก ซึ่งภาพที่ได้จะเป็นภาพมุม-กว้าง ผู้ชมสามารถมองเห็นองค์-ประกอบของฉากได้ทั้งหมด สามรถมองเห็นสิ่งที่ถ่ายได้เต็มสัดส่วน แม้สิ่งที่ถ่ายนั้นจะมีขนาดเล็กก็ตาม ซึ่งภาพลักษณะนี้ จะใช้เป็นภาพแนะนำ-สถานที่ เหมาะสำหรับการปูเรื่อง เริ่มเรื่อง ซึ่งภาพยนตร์ในต่างประเทศนิยมใส่ไตเติ้ลส่วนหัวไว้ในฉากประเภทนี้ตอนที่ภาพยนตร์ริ่มเข้าเนื้อเรื่อง
ภาพขนาดไกลนี้จะสร้างความรู้สึกโอ่อ่า อลังการ แสดงออกถึงความใหญ่โตของสถานที่ ความน่าเกรงขาม ความยิ่งใหญ่ และยังสามารถสร้างความประทับใจรวมถึงสร้างความประทับใจให้กับผู้ชมได้อีกด้วย
เช่น กลุ่มเรือโจรสลัดกำลังแล่นเรือออกสู่ทะเลกว้างโดยมีเรือของหัวหน้าโจรสลัดแล่นออกเป็นลำหน้า ตามด้วยกลุ่มเรือลูกน้องอีกนับ 10ลำ โดยใช้ภาพขนาดไกลมาก ตั้งกล้องในมุมสูงทำให้ผู้ชมเห็นถึงความยิ่งใหญ่และน่าเกรงขามของโจรสลัดกลุ่มนี้
เป็นต้น



ภาพไกล (Long Shot หรือ LS)

ขนาดภาพแบบนี้ไม่สามารถกำหนดระยะห่างระหว่างกล้องกับสิ่งที่ถ่ายได้ แต่จะกำหนดโดยประมาณว่าสิ่งที่ถ่ายจะอยู่ในกรอบภาพ (Frame) พอดี ถ้าเป็นคน ศีรษะจะพอดีกับกรอบภาพด้านบน ส่วนกรอบภาพด้านล่างก็จะพอดีกับเท้า ซึ่งสามารถเห็นบุคลิก
อากัปกิริยาการแสดง การเคลื่อนไหว ตำแหน่งที่อยู่ในการแสดงหรือในฉาก ด้วยเหตุนี้จึงสามารถใช้เป็นภาพแนะนำตัวละคร หรือเริ่มฉากใหม่ได้ บางครั้งอาจใช้เป็นภาพในฉากเริ่มเรื่องได้เช่นเยวกันกับภาพขนาดไกลมาก และบางครั้งภาพขนาดไกลยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เอสทาบริชชิง ช็อต (Establishing Shot) ส่วนองค์ประกอบรอบข้างผู้ชมจะได้เห็นรายละเอียดชัดเจนมากขึ้น



ภาพปานกลาง Medium Shot หรือ MS)

ขนาดภาพลักษณะนี้ถ้าเป็นภาพบุคคล ผู้ชมจะได้เห็นตั้งแต่เอวของนักแสดงขั้นไปจนถึงศีรษะ ขนาดภาพแบบนี้ผู้ชมสามารถเห็นการเคลื่อนไหวของนักแสดง และรายละเอียดของฉากหลังพอสมควร ซึ่งพอที่จะเข้าใจเรื่องราวต่างๆได้ จึงถือได้ว่าเป็นภาพที่ถ่ายทอดเหตุการณ์ในเรื่องได้ดีขนาดภาพปานกลาง เป็นขนาดภาพที่นิยมใช้มากที่สุด เพราะใช้เป็นภาพเชื่อมต่อ กล่าวคือ การเปลี่ยนขนาดภาพจากภาพไกลมาเป็น
ภาพไกล้หรือจากภาพใกล้มาเป็นภาพไกลก็ตาม จะต้องเปลี่ยนมาเป็นภาพขนาดปานกลางเสียก่อน ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ขัดต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้ชม
เนื่องจากภาพจะกระโดด
นอกจากนี้ภาพขนาดปานกลางยังนิยมใช้ถ่ายภาพบุคคล 2 คนในฉากเดียวกัน หรือที่เรียกกันว่า ภาพ Two Shot ซึ่งนิยมใช้กันมาก
ในภาพยนตร์บันเทิง



ภาพใกล้ (Close-Up หรือ CU, Close Shot หรือ CS)

ภาพใกล้ ผู้ชมจะมองเห็นนักแสดงตั้งแต่ไหล่ขึ้นไป เป็นขนาดภาพที่ผู้ชมสามารถเข้าถึงอารมณ์ของนักแสดงได้มากที่สุด เพราะการใช้ภาพขนาดใกล้ถ่ายบริเวณใบหน้าของนักแสดง จะสามารถภ่ายถอดรายละเอียด เกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึกที่อยู่ภายในของนักแสดงได้อย่างชัดเจนมาก นอกจากนี้ยังจะทำให้ผู้ชมได้รู้สึกใกล้ชิดกับสิ่งที่ถ่ายอีกด้วยทั้งนี้เพื่อทำให้เข้าใจถึงรายละเอียดของวัตถุต่างๆ ตามเนื้อหาที่กำลังนำเสนอ และ
ภาพขนาดใกล้นี้ยังสามารถบังคับให้ผู้ชมสนใจในวัตถุที่กล้องกำลังถ่าย หรือสิ่งที่กำลังนำเสนอ


ภาพใกล้มาก (Extreme Close-Up Shot หรือ ECU, Big Close-Up Shot หรือ BCU)

เป็นภาพที่ถ่ายในระยะใกล้มากๆ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเน้นสิ่งที่ถ่าย เพื่อให้ผู้ชมเห็นรายละเอียดของวัตถุ หรือเพื่อเพิ่มความเข้าใจในกรณีที่วัตถุมีขนาดเล็กมากๆ เช่น การถ่ายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้นหรือถ้าถ่ายใบหน้านักแสดง ก็เพื่อเป็นการเน้นอารมณ์ของนักแสดงเช่น จับภาพที่ดวงตาของนักแสดง ทำให้เห็นน้ำตาที่กำลังใหลออกจากดวงตา เป็นต้นและทั้งหมดนี้ก็เป็นขนาดภาพที่นิยมนำมาถ่ายทอดเรื่องราวของภาพยนตร์ ซึ่งตมความเป็นจริงแล้ว เราสามารถที่จะประยุกต์หรือดัดแปลงขนาดภาพไปเป็นอย่างอื่นก็ไม่ได้ผิดอะไร เพียงแต่ทั้งหมดนี้เป็นขนาดภาพสากลที่ทำให้เรา (ทีมงานถ่ายทำภาพยนตร์) เข้าใจตรงกันว่าต้องการให้ภาพออกมาในลักษณะใดเท่านั้น นอกจากนี้อารมณ์และความรู้สึกที่ผู้ชมจะได้รับขณะชมภาพยนตร์ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาดภาพเพียงย่างเดียว แต่ต้องอาศัยองค์ประกอบของภาพยนตร์อื่นๆ เข้ามาเป็นตัวช่วยเสริมความน่าเชื่อถือ และความเป็นภาพยนตร์มากยิ่งขึ้น





อ้างอิงจาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=66294

ภาพ Close up(CU) ภาพถ่ายระยะใกล้ เฉพาะใบหน้าตั้งแต่ส่วนบนสุดของศรีษะถึงบ่า

ภาพ Extreme long shot (ELS) ภาพถ่ายขนาดที่ไกลมาก เป็นภาพที่ถ่ายเลนส์กว้าง และถ่ายจากที่ไกล อาจจะถ่ายจากที่สูงด้วย เพื่อให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของสถานที

ภาพ Extreme close up (ECU) จะเห็นอวัยวะบนใบหน้าส่วนใดส่วนหนึ่งอย่างชัดเจน ใช้ในการสื่อสารอารมณ์