ประวัติส่วนตัว

นางสาววิภาวรรณ พฤกษชาติ 52010516040

เกิด 21 ตุลาคม 2533 ชื่อเล่น จุ๊บแจง 2ETC

จบจากโรงเรียนปากคาดพิทยาคม อ.ปากคาด จ.หนองคาย

ศึกษาต่อที่ มหาวิทยายมหาสารคาม คณะศึกษาศาสตร์

สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

ความฝันอันสูงสุด ผู้อำนวยการโรงเรียน

คติ ลายมือกำหนดชะตาชีวิต

แต่ถ้าเรากำมือลายมือก็จะอยู่ในมือของเรา



รวมภาพเพื่อนกะพี่ ETC

jubjang เที่ยว อิอิ

คอมพิวเตอร์ช่วยสอนคืออะไร
การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องช่วย (Computer Assisted Instruction : CAI)
หมายถึง บทเรียนและกิจกรรมการเรียนการสอนที่ถูกจัดกระทำไว้อย่างเป็นระบบและมีแบบแผน
โดยใช้คอมพิวเตอร์นำเสนอและจัดการเพื่อให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับบทเรียนนั้นๆ ตามความสามารถ

ประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1.บทเรียน (Tutorial) เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นมาในลักษณะของบทเรียนโปรแกรมที่เสนอเนื้อหาความรู้เป็นส่วนย่อย ๆเลียนแบบการสอนของครู
2.ฝึกทักษะและปฏิบัติ (Drill and Practice)ส่วนใหญ่ใช้เสริมการสอน ลักษณะที่นิยมกันมากคือ การจับคู่ ถูก-ผิดเลือกข้อถูกจากตัวเลือก
3.จำลองแบบ (Simulation)นิยมใช้กับบทเรียนที่ไม่สามารถทำให้เห็นจริงได้
4.เกมทางการศึกษา (Educational Game)
5.การสาธิต (Demonstration) นิยมใช้ในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
6.การทดสอบ (Testing) เป็นการวัดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
7.การไต่ถาม (Inquiry) ใช้เพื่อการค้นหาข้อเท็จจริง ความคิดรวบยอด
8.การแก้ปัญหา (Problem Solving) เน้นการให้ฝึกการคิดการตัดสินใจ
9.แบบรวมวิธีต่าง ๆ เข้าด้วย (Combination) ประยุกต์เอาวิธีสอนหลายแบบมารวมกันตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

ลักษณะการใช้งาน
•ใช้เพื่อสอนแทนผู้สอนทั้งในและนอกชั้นเรียน
•ใช้เพื่อการศึกษาทางไกลผ่านสื่อโทรคมนาคม •ใช้กับเนื้อหาที่ยุ่งยากหรือซับซ้อน
•ใช้ในการอบรมพนักงานใหม่
•ใช้เพื่อคงมาตรฐานของหลักสูตรการเรียนการสอน การฝึกอบรมให้เหมือนกันในทุกแห่ง
•ใช้เพื่อแบ่งเบาภาระของผู้สอนลง แก้ปัญหาการขาดแคลนผู้สอน

องค์ประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
•เสนอสิ่งเร้าให้กับผู้เรียน ได้แก่ เนื้อหา ภาพนิ่ง คำถาม ภาพเคลื่อนไหว
•ประเมินการตอบสนองของผู้เรียน ได้แก่ การตัดสินคำตอบ
•ให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการเสริมแรง ได้แก่ การให้รางวัล หรือ คะแนน
•ให้ผู้เรียนเลือกสิ่งเร้าในลำดับต่อไป

รูปแบบต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
•เพื่อการสอน (Tutorial Instruction)
•ประเภทการฝึกหัด (Drill and Practive)
•ประเภทสถานการณ์จำลอง (Simulation)
•ประเภทเกมการสอน (Instruction Games)
•ประเภทการค้นพบ (Discovery)
•ประเภทการแก้ปัญหา (Problem-Solving)
•ประเภทเพื่อการทดสอบ (Test)

หลักการออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
แนวความคิดของกาเย่ เพื่อให้ได้บทเรียนที่เกิดจากการออกแบบในลักษณะการเรียนการสอนจริง โดยยึดหลักการนำเสนอเนื้อหาและจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หลักการสอนทั้ง 9 ประการได้แก่
1.เร่งเร้าความสนใจ
2.บอกวัตถุประสงค์
3.ทบทวนความรู้เดิม
4.นำเสนอเนื้อหาใหม่
5.ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้
6.กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน
7.ให้ข้อมูลย้อนกลับ
8.ทดสอบความรู้ใหม่
9.สรุปและนำไปใช้

คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีลักษณะการเรียนที่เป็นขั้นเป็นตอน ดังนี้
1.ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
2.ขั้นการเสนอเนื้อหา
3.ขั้นคำถามและคำตอบ
4.ขั้นการตรวจคำตอบ
5.ขั้นของการปิดบทเรียน

ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1.ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามเอกัตภาพ
2.ผู้เรียนมีโอกาสเรียนซ้ำได้หลายครั้งเท่าที่ต้องการ
3.ผู้เรียนมีโอกาสโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์และสามารถควบคุมการเรียนได้เอง
4.มีภาพ ภาพเคลื่อนไหว สี เสียง ทำให้ผู้เรียนไม่เบื่อหน่ายการเรียน
5.ตัวผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้
6.ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามขั้นตอนจากง่ายไปยาก หรือเลือกบทเรียนได้7.ฝึกให้ผู้เรียนคิดอย่างมีเหตุผล

แหล่งอ้างอิง http://senarak.tripod.com/cai2.htm